วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

องค์ประกอบของสี1 (COLOR1)


Color องค์ประกอบแรกที่ทำหน้าที่เป็นตัวสร้างฟิล์มยึดเกาะบนพื้นผิวต่างๆ และประสานยึดผงสีและสารต่างๆ ในเนื้อสีไว้ด้วยกัน ผลิตจากธรรมชาติ เช่นยางไม้ หรือผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตเคมิคอลก็ได้ เรียกว่า Binder แปลตรงตัวว่าผู้รวบรวมให้ยึดติดกัน ซึ่งในอุตสาหกรรมสีนำมาใช้ หรือบางแห่งเรียกตามลักษณะการทำหน้าที่ของสารว่า Resin และไม่ว่าจะเรียกเป็นอะไรก็ตาม Resin ทุกตัวต่างก็เป็นพลาสติกชนิด ๆหนึ่งพลาสติก คือ สารประกอบใดๆ ก็ตาม โดยผลิตมาจากผลิตผลของพืช หรือสัตว์ หรืออุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งเราจะเห็นว่าวัตถุดิบกลุ่มนี้จะเป็นสารเชื้อเพลิงทั้งสิ้น
Film Former แปลว่าผู้สร้างแผ่นฟิล์ม นำคำนี้มาใช้เข่นเดียวกับคำว่า Binder แต่ในวงการสีเมืองไทยจะเรียกกันว่ากาว ซึ่งอนุโลมได้ว่าเป็นความหมายที่ใช้ได้เนื่องจากลักษณะของ Resin เมื่ออยู่ในสภาพของเหลว จะมีคุณสมบัติเหมือนกาวทั่วๆไปเราสามารถแยกกลุ่มวัตถุดิบและการผลิตเพื่อนำมาใช้งานของ Resin เป็น 2 กลุ่มใหญ่ได้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่ม Resin ที่ได้จากพืชและสัตว์ แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
1. น้ำมันและยางไม้ต่างๆ เช่น น้ำมันสน น้ำมันยางนา ยางจากต้นรักเป็นต้น Resin
เหล่านี้ถูกมนุษย์นำมาใช้งานตั้งแต่สมัยโบราณ บางตัวยังใช้งานกันจนถึงปัจจุบัน เช่น การยาเรือไม้ด้วยชัน และ น้ำมันยางนา หรือการลงรักปิดทอง เป็นต้น วัตถุดิบกลุ่มนี้ที่ใช้งานแพร่หลายและผลิตเป็นระดับอุตสาหกรรม ได้แก่

1.1 Alkyd Resin เป็น Resin ที่ทำจากน้ำมันพืชชนิดต่างๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลืองปรับสภาพด้วยความร้อน เดิมสารเคมี ฯลฯ ก็จะได้สารเหลงที่มีคุณสมบัติสามารถแข็งตัวเป็นฟิล์มได้โดยการทำปฏิกริยากับออกซิเจน (Oxidation) สีที่ทำจาก Resin ชนิดนี้ได้แก่ สีน้ำมัน หรือสีเคลือบเงามีกลิ่นเหมือนน้ำมันสนที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด
1.2 Chlorinated Rubber Resin ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติมาปรับสภาพ (Modify) กับคลอรีนก็จะได้ Resin ที่ใช้ทำสำหรับใช้งานกับโครงสร้างโลหะที่สภาพแวดล้อมรุนแรงปานกลาง
1.3 Resin ที่ทำจากเส้นใยหรือเนื้อเยื่อของพืช เช่นพลาสติกที่บริโภคได้ ตัวอย่าง เช่น เปลือกแคปซูลยา หรือ แป้งเปียก ก็เป็น resin ชนิดหนึ่งในอุตสาหกรรมสีมี Resin ชนิดหนึ่งชื่อ Nitrocellulose ได้จากการนำปุยฝ้ายมาละลายกับ SOLVENT จะได้กาวเหนียว ที่เราเรียกกันว่า Nitro Cellulose Resin นอกเหนือจากการนำมาทำสีแล้วยังเป็นวัตถุดิบในการทำดินระเบิดที่ใช้งานในอุตสาหกรรมอาวุธในปัจจุบันสีที่ผลิตจาก Resin ชนิดนี้ คือ Lacquer และสีพ่นอุตสาหกรรม (Industrial Lacquer) ที่ใช้พ่นเฟอร์นิเจอร์ และเป็นสีพ่นรถยนต์ตระกูลหนึ่ง
2. Resin ที่เป็นผลผลิตจากสัตว์ เช่น กาวหนัง แต่ที่นำมาใช้งานทางด้านสีที่แพร่หลายและใช้กันมานานมาก คือ Shellac ซึ่งได้มาจากมูลของแมลงชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า ครั่ง โดยแมลงชนิดนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ และถ่ายมูลออกมาเป็น Resin แข็ง ซึ่งสามารถหลอมละลายด้วยความร้อนหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งเรียกกันว่า Shellac ใช้ทาไม้ แต่เนื่องจากคุณภาพของฟิล์มเปราะ ความเงาต่ำ และอายุการใช้งานสั้น ปัจจุบันจึงถูกทดแทนด้วยสารเคลือบประเภทอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติดีกว่า

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่ม Resin ที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ (Petrochemical Products) ซึ่งก็คือพลาสติกชนิดต่างๆ ที่แวดล้อมตัวเราอยู่ทุกวันนี้ ทางวิชาการมักจะเรียกว่า วัสดุสังเคราะห์ (Synthetic Material) ซึ่งหมายความว่าการทำเทียมหรือเลียนแบบวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น พลาสติกบางชนิดที่นุ่ม ยืดหยุ่นตัว เราก็เรียกว่ายางเทียมหรือยางสังเคราะห์ เนื่องจากเป็นยาง (พลาสติก) ที่คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์โดยการ ดัดแปลงจากวัตถุดิบที่เป็นสารเคมีต่างๆ จากน้ำมันดิบ เป็นต้น พูดง่ายๆ คือมนุษย์ทำขึ้นมาไม่ใช้ผลผลิตจากธรรมชาติ พลาสติกที่ผลิตขึ้นมาใช้ในงานปัจจุบันมีมากมายหลายชนิดและมีชื่อแตกต่างกัน คุณสมบัติก็ต่างกันแล้วแต่ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานอะไร แต่ในอุตสาหกรรมสีนั้นจะมีอยู่ไม่กี่ชนิดดังต่อไปนี้
1. PVAC (Polyvinyl Acetate Copolymer) เป็น Resin ที่ใช้ในกลุ่มทำสีน้ำพลาสติก (ซึ่งจะเขียนถึงที่มาของสีผสมน้ำในช่วงท้ายของบท Resin) ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของประเทศไทยประมาณ 30 กว่าปีที่ผ่านมาปัจจุบันยังใช้ผลิตสีในระดับราคาถูกเนื่องจากพลาสติกชนิดนี้ทนต่อด่างและ UV ได้ไม่ดี
2. ACRYLIC เมื่อปี พ.ศ.2523 บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการศึกษาพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสีในประเทศไทย ผลการศึกษาครั้งนั้น ทีโอเอ ได้ตัดสินใจ พัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Acrylic Resin ซึ่งมีคุณสมบัติเหนือกว่า PVAC Resin ในทุกๆ ด้าน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมสีโดยรวมคือ ปัจจุบันสีในตลาดระดับกลางและสูง จะใช้วัตถุดิบเป็น Acrylic ทุกบริษัท
3. EPOXY เป็น Resin อีกชนิดหนึ่งที่มีฟิล์มแข็งทนสารเคมีได้ดี มักจะใช้เป็นสีทาโครงสร้างโลหะในบริเวณที่มีสภาวะอากาศรุนแรง เช่น โครงสร้างในทะเล (Off Shore Structures) หรือโรงงานเคมี โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น บางครั้งเรานำมาใช้กับงานคอนกรีต เช่น พื้น ผนังโรงงาน หรือในบริเวณอาคารที่ต้องการปกป้องจากการใช้งานหนักและทำความสะอาดได้ เช่น ห้องผ่าตัด เป็นต้น ข้อด้อยของ Epoxy คือ โครงสร้างของ Epoxy ไม่ทนต่อ UV ซึ่งถ้าฟิล์มโดน UV สักระยะหนึ่ง (ประมาณ 5-6 เดือน) ผิวฟิล์มจะด้านเป็นฝุ่นบางๆ (Chalking) แต่ประสิทธิภาพในการปกป้องพื้นผิวจะยังคงมีอยู่
4. POLYURETHANE เป็น Resin ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ Epoxy แต่มีข้อดีกว่าตรงที่ทน UV ได้ดี เรามักจะนำมาเป็นเคลือบใสสำหรับการเคลือบพื้นไม้ปาร์เกท์ เป็นต้น ถ้าเป็นสีจะใช้ทดแทนสี Epoxy เป็นสีที่ใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการความเงาเป็นพิเศษ
5. FLUOROCARBON เป็น Resin ที่ทนความร้อนได้ดีและฝุ่นจะเกาะฝังตัวน้อย เครื่องใช้ในบ้านที่ใช้ Resin ตัวนี้คือภาชนะที่เคลือบสารดำๆ ที่เราเรียกว่า Teflon (เป็นชื่อทางการค้าของพลาสติกชนิดนี้) เป็น Resin ที่ใช้ทำสีเพื่อเคลือบชิ้นโลหะที่เป็นส่วนประกอบของผนังอาคารที่ทำด้วยกระจกและโลหะ (Curtain Wall) จุดอ่อนของสีประเภทนี้ คือผิวจะด้านไม่เงาและราคาแพงมาก อาจจะพิจารณาตัวทดแทนได้ คือ Polyurethane
6. มี Resin อีกตัวที่มีที่มาของวัตถุดิบจากแหล่งที่ไม่เป็นสารจากสิ่งมีชีวิตถ้าเราสังเกตในกลุ่ม Resin ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดจะเห็นว่าวัตถุดิบที่นำมาผลิต Resin ตั้งแต่กลุ่ม 1 จนถึงกลุ่ม 2 จะมาจากพืชและสัตว์ทั้งนั้น แม้จะมาในรูปของน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติก็ตามเพราะว่า น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ก็คือ ผลผลิตจากซากพืช ซากสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ที่ทับถมรวมกันแต่ Resin ตัวนี้กลับทำจากทราย (Silica Sand) ที่นำมาผลิตกระจก นักวิทยาศาสตร์สามารถคิดค้นจนผลิตยางเหนียวจากทรายได้ ที่เราเรียกว่า Silicone Resin ซึ่งเมื่อนำมาผลิตสีแล้วจะได้สีที่ใช้ สำหรับบริเวณที่มีความร้อนสูง เช่น ท่อไอเสีย เตาเผา เป็นต้นทั้งหมดนี้คือ วัตถุดิบหลักตัวแรกที่ใช้ผลิตสีสำหรับเกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมยังมี Resin ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอีกหลายตัว แต่มักจะใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงขอไม่เขียนถึง ณ ที่นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น