วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

10 วิธีดูแลจิตใจผู้ประสบภัยช่วงน้ำท่วม

เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมยังคงอยู่กับเราต่อไป แต่เดี๋ยวสถานการณ์ต่างๆมันก็ผ่านไป ยังไงก็ขอให้ทุกคนทำจิตใจให้สบายๆ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาเป็นภาระแก่คนในครอบครัว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นน้ำท่วมที่ยังมีอยู่ บางทีมันอาจทำให้คนในครอบครัวของเราเกิดภาวะจิตใจที่หดหู่ เหงา เศร้า ดังนั้นทางสสส. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แนะนำเคล็ดลับ 10 เคล็ดลับดูแลจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งระบุควรทำกิจกรรมร่วมกัน และหาอะไรทำจะช่วยสร้างกำลังใจให้ตัวเองได้อย่างดี จึงได้ขอให้ทุกคนอดทน ทำใจยอมรับ พร้อมกับแนะนำวิธีดูแลจิตใจ 10 ขั้นตอน เพื่อฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

10 วิธี ดูแลจิตใจผู้ประสบภัยช่วงน้ำท่วม

1. ตั้งสติมองทุกปัญหาว่ามีทางแก้ไข
2. หากท้อใจให้ค้นหาแหล่งสร้างกำลังใจให้กับตัวเอง ได้แก่ ความผูกพันกับครอบครัว ความศรัทธาทางศาสนา
3. ฝึกหายใจคลายเครียด
4. พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย วันละ 6-8 ชั่วโมง
5. แปลงปัญหาเป็นโอกาสในการสร้างความผูกพันใกล้ชิดต่อกัน
6. บริหารร่างกายเป็นประจำ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที วันเว้นวัน
7. ศึกษาและปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา
8. มองหาโอกาสในการช่วยเหลือผู้อื่น เข้าร่วมกิจกรรมชุมชน
9. คิดทบทวนสิ่งดี ๆ ในชีวิตเป็นประจำทุกวัน
10. จัดการปัญหาทีละขั้นทีละตอน ไม่จมไปกับปัญหาที่ยังแก้ไขอะไรไม่ได้ หลีกเลี่ยงการใช้สุราหรือสารเสพติดในการจัดการความเครียดความทุกข์ใจ

ทั้งนี้ สำหรับผู้ประสบภัยที่อาจจะจากบ้านจากเมือง เข้าไปอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิง อาจรู้สึกหมดกำลังใจ และซึมเศร้าได้ ดังนั้น นพ.ประเวช จึงได้แนะนำว่า ผู้ประสบภัยที่มาจากชุมชนเดียวกันควรจะได้อยู่ร่วมกัน เพื่อจะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากรู้จักกันดี และผู้บริการศูนย์ก็ควรมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้ผู้ประสบภัยแต่ละคน ด้วย ใครถนัดทำอะไรก็ทำสิ่งนั้น จะได้รู้สึกว่ามีอะไรทำ และเราควรจะนำไปประยุกต์ใชกับคนในครอบครัวเรา ให้เกิดความสบายใจ ไม่เกิดโรคซึมเศร้า และเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำให้ได้นะครับ

ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจแก่ผู้ประสบภัยทุกท่านครับ
 

http://travelUguide.blogspot.com
ที่มา: http://www.imarm.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น