1. อย่าเล่นกับไฟ
อย่างแรกเลยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง อาจจะสำคัญถึงชีวิตเลยก็ว่าได้ คือการตรวจเช็คระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ก่อนอื่นต้องปิดคัทเอาท์ และตัดระบบไฟฟ้าทั้งบ้านก่อนตรวจซ่อมเสมอ และหากไม่มีความชำนาญ แนะนำว่าให้เรียกช่างไฟมาเช็คจะดีกว่านะคะ จากนั้นเราก็เริ่มมาดูอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดในบ้าน ตั้งแต่ชิ้นใหญ่ยันชิ้นเล็ก แม้จะเป็นเพียงโคมไฟเก๋ๆ เล็กๆ ในบ้านก็ห้ามประมาทนะคะ ตั้งทิ้งไว้ให้แห้งสนิทเสียก่อน แล้วลองตรวจสอบสภาพการใช้งานดู บางครั้งอาจจะยังไม่เสียก็ได้ค่ะ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้แม้จะโดนน้ำ แต่หากขณะโดนน้ำไม่มีไฟเลี้ยงอยู่ภายใน ไฟก็ยังไม่ลัดวงจร หากโชคดีก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อใหม่ค่ะ
2. เช็ดและถู
ขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ นำมาเช็ดทำความสะอาด และนำไปตากแดดไว้ เพื่อให้ความชื้นออกไปให้มากที่สุด แน่นอนว่า เฟอร์นิเจอร์บางอย่าง อาจขึ้นเชื้อราตามมาทีหลัง ก็ต้องคอยดูแลทำความสะอาดด้วย แต่หากเป็นเฟอร์นิเจอร์ประเภทฟองน้ำ นุ่น แนะนำว่าหากไม่ลำบากนักก็ตัดใจเปลี่ยนใหม่จะดีกว่าค่ะ เพราะวัสดุเหล่านี้ มักจะเป็นตัวแพร่พันธุ์เชื้อโรค ปล่อยทิ้งไว้อาจได้ไม่คุ้มเสียแน่นอนค่ะ
3. บานประตู บานพับ รูกุญแจ
ปัญหาที่เจอบ่อยอีกอย่างคือ บานประตูเอียง เนื่องจากโดนแช่น้ำเป็นเวลานาน แน่นอนว่าน้ำหนักของประตูย่อมจะไม่สมดุลกัน เพราะน้ำท่วมขังเพียงแค่ระดับช่วงล่างๆ เท่านั้น ยกเว้นบางบ้านที่จมมิดทั้งหลัง แต่หากเพียงแค่เอียง แนะนำให้หาอุปกรณ์มาค้ำยันช่วยรับแรงน้ำหนักไว้ รอจนกว่าความชื้นระเหยออก ก็จะสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกค่ะ ส่วนพวกรูกุญแจ บานพับ และชิ้นส่วนต่างๆ ที่เป็นเหล็ก ให้เช็ดทำความสะอาด และเช็ดให้แห้งสนิทอีกครั้ง หลังจากนั้นควรทาน้ำยาหล่อลื่น หรือทาสีใหม่เพื่อกันสนิมเกาะค่ะ
4. ฝ้าเพดานสวยงาม
สำหรับบางบ้านที่เป็นเพดานแผ่นปูนพลาสเตอร์สวยงาม งานนี้คุณคงต้องทำใจแล้วละคะ หากโดนน้ำแล้วเมื่อไร มันจะเละและพุพอง ล่วงหล่นลงมาแน่นอน เพราะเกิดการอมน้ำไว้ ทางที่ดีควรรื้อออกเปลี่ยนใหม่ให้หมดดีกว่าค่ะ ไม่อย่างนั้นอาจจะเป็นอันตรายร่วงหล่นตกใส่หัวเราได้นะคะ
พอเห็นชื่อว่าพูดถึงเรื่องระบบทางเดินท่อ สาวๆ อย่าเพิ่งอวดครวญว่าฟังเป็นเรื่องที่ดูยากๆ นะคะ เพราะแค่อยากให้ลองตรวจสอบให้รอบคอบว่าอาจมีรอยแตกและรั่วซึมบ้างหรือเปล่า หากไม่เห็นจุดรอยรั่วอย่างชัดเจน วิธีที่จะเช็คคร่าวๆ คือให้สังเกตจากค่าน้ำสิ้นเดือนก็ได้ค่ะ ว่ายอดผิดปกติมากไปหรือเปล่า แต่อย่าลืมว่าต้องบวกเพิ่มค่าน้ำที่ใช้มากขึ้นในเดือนน้ำท่วมด้วยนะค่ะ เพราะถึงแม้น้ำท่วมเยอะก็จริง เราก็ต้องใช้น้ำประปาในการทำความสะอาดเยอะด้วยเหมือนกัน
ข้อสุดท้ายนี้ ต้องขอนอกเรื่องจากข้ออื่นๆ ซักหน่อยนะคะ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือเรื่องของเอกสารสำคัญต่างๆ ที่บางคนอาจลืมนำพกติดตัวตอนอพยพมาด้วย หรือไม่สามารถปกป้องมันไว้จากน้องน้ำได้ หากโดนหางเลขน้ำท่วมขังไปด้วย พอมีวิธีที่เยียวยาที่อาจจะพอช่วยกู้ชีพเอกสารได้เล็กน้อย ถ้าเปียกพองมาก อย่าเพิ่งไปทำอะไรกับมัน ปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ ไม่อย่างนั้นจะยิ่งทำให้ขาดยุ่ยได้ เมื่อเริ่มแห้ง จึงค่อยแยกออกจากกัน หากแผ่นเอกสารติดแน่นกัน ให้ทำการนำไปแช่น้ำหมาดๆ อีกครั้ง เพื่อให้คลายออกจากกันก่อน แล้วค่อยดึงออกอย่างระมัดระวังค่ะ
แหล่งที่มา : www.bloggang.com
http://travelUguide.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น